แชร์

โรคข้ออักเสบจากข้อเสื่อม

อัพเดทล่าสุด: 25 มี.ค. 2024
380 ผู้เข้าชม

โรคข้ออักเสบจากข้อเสื่อม เป็นโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของข้อชนิดหนึ่งที่ไม่มีการอักเสบของข้อ เกิดจากการเสื่อมสภาพของกระดูกอ่อนที่ฉาบผิวกระดูกข้อต่อไว้ไม่ให้มีการเสียดสีกันเมื่อเคลื่อนไหว ซึ่งเมื่อเราเคลื่อนไหวร่างกาย ข้อต่อจะทำงานสอดประสานกันอย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อผิวกระดูกอ่อนเกิดการสึกหรอตามกระบวนการสูงอายุตามวัย หรือเหตุจากปัจจัยอื่นที่มีผลต่อการเสื่อมสภาพของข้อ กระดูกอ่อนที่หุ้มข้อต่างๆ ผุพังหรือบางลง กระดูกข้อต่อก็จะเสียดสีกันจนเป็นผลให้เกิดการอักเสบ ซึ่งจะมีผลทำให้เกิดอาการเจ็บปวดบริเวณข้อ และความสามารถในการเคลื่อนไหวของข้อน้อยลง เช่น ข้อเข่า ข้อเท้า ข้อมือ ข้อสะโพก ข้อกระดูกสันหลัง เป็นต้น


โรคข้ออักเสบจากข้อเสื่อมเกิดขึ้นได้อย่างไร

โรคข้ออักเสบจากข้อเสื่อม เป็นโรคข้อเรื้อรังชนิดหนึ่ง ที่มีความผิดปกติหลากหลายที่พบได้จากสภาพโรค และจากภาพเอกซเรย์

เริ่มต้นจากมีการสึกกร่อนของกระดูกข้อต่อ ส่งผลให้เริ่มมีช่องว่างข้อต่อแคบลง ขนาดของกระดูกข้อต่อใหญ่ขึ้น หรือมีกระดูกงอก ร่วมกับมีการยีด หรือหย่อนยานของเอ็น และกล้ามเนื้อรอบข้อจนส่งผลให้ระยะสุดท้ายมีการผิดรูปของข้อต่อเกิดการคดงอ หรือ ข้อโก่งได้

กระดูกอ่อนผิวข้อ นอกจากมีเลือดมาเลี้ยงน้อยแล้วยังไม่มีเซลล์ประสาทรับความรู้สึกเจ็บปวดอยู่ด้วย ผู้ที่มีข้อเสื่อมในระยะแรกจึงไม่เกิดอาการปวดจนกว่าข้อที่เสื่อมจะเกิดกระบวนการในการอักเสบ มีหลอดเลือดและเส้นประสาทงอกเข้าไป หรือผิวข้อสึกรุนแรงมากจนถึงเนื้อกระดูกใต้กระดูกอ่อนผิวข้อ ผู้ป่วยจึงจะเกิดอาการปวด

สาเหตุของโรคข้ออักเสบจากข้อเสื่อม

สาเหตุที่สำคัญของการเกิดข้ออักเสบจากข้อเสื่อม ก็คือ การที่กระดูกอ่อนผิวข้อถูกทำลายจากการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีของสาร และเนื้อเยื่อภายในข้อ เช่น น้ำ เส้นใยคอลลาเจน proteoglycans และสารอินทรีย์ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางชีวกลศาสตร์ภายในข้อและภายในร่างกาย ทำให้ไม่สามารถซ่อมแซมกระดูกอ่อนผิวข้อได้ทันกับการถูกทำลาย

เนื่องจากกระดูกอ่อนผิวข้อมีเลือดมาเลี้ยงน้อย เซลล์กระดูกอ่อนได้รับสารอาหารและออกซิเจนไม่เพียงพอ ทำให้ไม่สามารถสังเคราะห์สารต่างๆ ที่จำเป็นในการซ่อมแซมกระดูกอ่อนผิวข้อได้ ส่งผลให้ข้อที่เสื่อมไม่สามารถรับน้ำหนักที่เกิดจากการทำกิจวัตรประจำวันได้

นอกจากจะมีสาเหตุมาจากการเสื่อมสภาพของผิวกระดูกอ่อนตามวัยแล้วยังมีปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง และส่งเสริมให้มีการเสื่อมสภาพที่เร็วขึ้นกว่าปกติหรือมีอาการที่รุนแรงขึ้น ได้แก่

  • อายุ มักพบในผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 85 จากผู้ป่วยทั้งหมด พบว่า ผู้ที่มีอายุมากมักพบอัตราการสร้างและซ่อมแซมเซลล์น้อยกว่าอัตราการสลาย เป็นผลทำให้เกิดโรคข้ออักเสบจากข้อเสื่อมตามมา
  • โรคอ้วน น้ำหนักมาก ตัวใหญ่ จะมีการเสื่อมของผิวหุ้มกระดูกที่เร็วกว่าคนผอม
  • อาชีพ ที่ยกของหนักหรือใช้งานอวัยวะบริเวณข้อต่างๆ มีโอกาสเกิดภาวะข้ออักเสบจากข้อเสื่อมเร็วขึ้น
  • เพศ ยีนของเพศหญิงมีผลต่อการเสื่อมของข้อกระดูก ทำให้เพศหญิงมีโอกาสเกิดโรคข้ออักเสบจากข้อเสื่อมมากกว่าเพศชาย โดยเฉพาะเพศหญิงเมื่อหมดวัยประจำเดือน
  • ความหนาแน่นของกระดูก พบว่าความหนาแน่นของกระดูกที่น้อยมีความสัมพันธ์กับโรคข้ออักเสบจากข้อเสื่อมที่ทำให้เกิดแรงเครียดที่ผิวกระดูกอ่อนหุ้มข้อ
  • ฮอร์โมนเอสโตรเจน ฮอร์โมนนี้มีส่วนช่วยป้องกันการเสื่อมของผิวกระดูกอ่อน หากฮอร์โมนมีปริมาณลดลงหรือมีน้อยจะทำให้เพิ่มอัตราการเสื่อมของผิวกระดูกอ่อนที่เร็วขึ้น
  • พฤติกรรมการใช้ชีวิต โดยเฉพาะพฤติกรรมที่มีการเคลื่อนไหวของข้อกระดูกที่มาก รวมถึงพฤติกรรมการหักนิ้ว หักข้อเวลาปวด มีส่วนทำให้เร่งการเสื่อมของผิวกระดูกอ่อนหุ้มข้อที่เร็วขึ้น
  • การประสบอุบัติเหตุ โดยเฉพาะการประสบอุบัติเหตุบริเวณข้อ เช่น ข้อเข่าหลุด ข้อมือหัก เป็นต้น เป็นสาเหตุทำให้ผิวหุ้มกระดูกอ่อนถูกทำลายอย่างรุนแรงมีผลทำให้เกิดการเสื่อมที่ข้อที่เร็วขึ้น

 

อาการไหนที่บ่งบอกว่าเสี่ยงเป็นโรคข้ออักเสบจากข้อเสื่อม

  • ปวดเข่า หรือ ขา เวลาที่ต้องเดิน หรือเคลื่อนไหวโดยเฉพาะเวลาที่ต้องขึ้นลงรถ หรือ ขึ้นลงบันได จะเริ่มปวดทีละน้อย ปวดบ่อยและปวดมากขึ้น
  • มีเสียงดัง ในข้อขณะเคลื่อนไหว
  • ปวดเข่าเวลานอน
  • ปวดเข่าเวลาเปลี่ยนอิริยาบถ ก้ม ใส่ถุงเท้า รองเท้า หรือลุกนั่ง
  • ปวด บวม อักเสบ บริเวณข้อ
  • ขาเริ่มโก่งจนผิดรูป เห็นได้ชัด มีการงอกของกระดูกที่ผิดปกติ ทำให้ปวดมากแม้เวลาที่อยู่เฉยๆ
  • การเคลื่อนไหวสะดุดไม่ราบรื่น หรือเรียกว่า “อาการข้อยึด” ก้าวข้ามสิ่งกีดขวางลำบาก มักจะเป็นมากในตอนเช้า หรือตอนเดินใหม่ๆ
  • เดินได้ในระยะที่น้อยลง เนื่องจากปวดจนเดินไม่ไหว ไม่สามารถลงน้ำหนักได้และในที่สุดจะเดินไม่ได้เลย

หากคุณมีอาการเหล่านี้ อย่างน้อย 3 ข้อขึ้นไปให้สงสัยก่อนเลยว่า อาจเข้าข่ายเป็นโรคข้ออักเสบจากข้อเสื่อมแล้ว

คลิกที่ปุ่มด้านล่างเพื่อสั่งซื้อสินค้าได้ในทุกช่องทาง

   


บทความที่เกี่ยวข้อง
โรคนอนไม่หลับ นอนไม่หลับ ปัญหานอนไม่หลับ เครียด วิตกกังวล
ปัญหาความเครียด วิตกกังวล สาเหตุ แนวทางการแก้ปัญหาอาการนอนไม่หลับ
ผมร่วง ผมหลุดร่วงง่าย ผมบาง
ปัญหาผมหลุดร่วงมีทั้งปัจจัยภายในและภายนอก ซึ่งปัจจัยภายในร่างกายเป็นเรื่องที่ควบคุมได้ยากกว่า ปัจจัยภายนอก
หน้าโทรม หมองคล้ำ
การที่เรารู้สาเหตุที่ทำให้หน้าโทรม หมองคล้ำ ไม่สว่างกระจ่างใส จะทำให้เราหลีกเลี่ยงปัญหาเหล่านั้นได้อย่างตรงจุด และ ใครที่มีปัญหาเหล่านี้ ถ้าหากทำตามคำแนะนำแก้ปัญหาผิวหน้าโทรม หมองคล้ำ เป็นประจำก็จะช่วยให้ผิวกลับมาดูสดใสขึ้นได้
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy